เขียนเมื่อ : วันพฤหัสบดี ที่ 18 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2562 | อ่านแล้ว : 8,889 ครั้ง

ลายม์ ไมใช่โรคประจำถิ่น


กรณีหญิงชาวไทยรายหนึ่งเดินทางไปท่องเที่ยวในประเทศตุรกี หลังจากนั้นกลับมาป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการหนักและแพทย์วินิจฉัยว่าติดเชื้อ โรคลายม์ (Lyme disease) ซึ่งเป็นโรคประจำถิ่นของหลายประเทศ แต่ไม่เคยพบในประเทศไทย โดยได้ทำการรักษาใช้เวลาอยู่โรงพยาบาล 2 เดือน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน ผู้ป่วยกลับไปทำงานได้ตามปกติ แต่ความจำบางส่วนหายไปนั้น

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงโรคลายม์ว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อว่าโบเรลเลีย (Borellia) ติดต่อสู่คนจากการถูกเห็บที่มีเชื้อนี้กัด ดังนั้นความเสี่ยงที่ว่าเห็บในไทยจะมีเชื้อตัวนี้ค่อนข้างต่ำมาก จึงไม่ต้องเป็นกังวลกับโรคนี้มากนัก โรคดังกล่าวไม่ติดต่อจากคนสู่คน ส่วนอาการหลังรับเชื้อจะมีระยะเวลาฟักตัว 2-4 สัปดาห์ บางคนอาจสั้นกว่า ซึ่งการถูกเห็บกัดจะคล้ายกับการถูกแมลงกัดทั่วไป คือ จะมีรอยบวมแดงบริเวณที่ถูกกัด บางคนมีรอยเป็นผื่นวงกลม และเนื่องจากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียจึงมีอาการไข้ ปวดตามร่างกายและปวดตามข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ

การป้องกันตนเองอย่างถูกต้อง
1. ทำความสะอาดบาดแผล ใส่ยา และขอคำแนะนำจากแพทย์
2. อย่าเกา อย่าแกะแผล เห็บอาจไม่ได้ก่อโรคโดยตรง แต่การถูกกัดบางคนจะไปเกาจนมีการติดเชื้อแบคทีเรียเพิ่มเติม กลายเป็นผิวหนังอักเสบ เนื้อเยื่ออักเสบ กลายเป็นแผลหนองหรือติดเชื้อในกระแสโลหิตตามมา
3.หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ที่มีหญ้าสูง สนามหญ้า ป่า โดยไม่สวมเครื่องป้องกัน เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าบู้ท (เครื่องแต่งกายสีสว่างจะช่วยให้มองเห็นเห็บได้ง่าย)



ขอบคุณข้อมมูลจาก : www.thaihealth.or.th