เขียนเมื่อ : วันพฤหัสบดี ที่ 17 เดือน กันยายน พ.ศ.2563 | อ่านแล้ว : 7,351 ครั้ง

“หน่อไม้” อาหารแสลงหรือคิดไปเอง


หน่อไม้ (bamboo shoot) มักอยู่ในรายชื่ออาหารไม่แนะนำให้ลูกหลานรับประทาน คนไทยเรามักจะคิดว่าหน่อไม้มีแต่โทษเป็นของแสลง ถ้าไม่กินจะดีกว่า รับประทานแล้วมีแต่โทษไม่มีประโยชน์ แต่อันที่จริงความเชื่อเหล่านี้ เป็นความจริงมากน้อยแค่ไหน?

นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า หน่อไม้ดิบหรือหน่อไม้ที่ยังปรุงไม่สุก อาจได้รับพิษจากสารไซยาไนด์ ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ตามธรรมชาติและหากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณน้อย สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากสารไซยาไนด์จะจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดง (hemoglobin) แทนที่ออกซิเจนทำให้เกิดอาการขาดออกซิเจน หมดสติและอาจทำให้เสียชีวิตได้

ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคหน่อไม้ดิบ การบริโภคหน่อไม้ที่ต้มสุกจะปลอดภัยจากการได้รับสารไซยาไนด์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคก่อนที่จะนำหน่อไม้ไปบริโภคควรปรุงให้สุก ด้วยการต้มหน่อไม้ในน้ำเดือดนานอย่างน้อย 10 นาที สามารถลดปริมาณสารไซยาไนด์ลงได้ถึงร้อยละ 90.5

1. ผู้ป่วยเบาหวาน หน่อไม้ไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแต่อย่างใด
2. ผู้ป่วยโรคตับ ไม่ว่าจะเป็นไวรัสตับอักเสบหรือตับแข็งก็สามารถรับประทานหน่อไม้ได้ ไม่มีผลกระทบต่ออาการของโรค
3. ผู้หญิงที่มีประจำเดือน ระดูขาว หน่อไม้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเกิดระดูขาวในผู้หญิงแต่อย่างใด
4. ผู้ที่มีแผล หลังผ่าคลอด หลังผ่าตัด หน่อไม้ไม่ได้มีส่วนทำให้แผลอักเสบ หายช้าหรือติดเชื้อ
5. หน่อไม้ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งแต่อย่างใด ยกเว้น หน่อไม้ฝรั่งที่สารแอสพาราจีน Asparagine ซึ่งมีอยู่ในหน่อไม้ฝรั่งตัวการที่ช่วยให้เซลล์มะเร็งเต้านมแพร่กระจายและเจริญเติบโตลุกลามไปทั่วร่างกายได้มากยิ่งขึ้น



ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, Goodlifeupdate.com, กรมวิชาการเกษตร