เขียนเมื่อ : วันศุกร์ ที่ 27 เดือน กันยายน พ.ศ.2562 | อ่านแล้ว : 9,825 ครั้ง

ทำความรู้จักกับ "โรคซึมเศร้า" โรคจิตเวชที่พบบ่อยที่สุด


โรคซึมเศร้าส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและความคิด โดยอาการเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในแต่ละวันอย่างมาก เช่น รับประทานอาหารได้น้อยลง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ สิ้นหวัง หดหู่ รู้สึกว่าตัวเองไม่มีความสุขกับชีวิต วิตกกังวลตลอดเวลาและที่สำคัญคือผู้ป่วยจะไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ดีพอ

ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ
1.มีอารมณ์ซึมเศร้า ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้
2.ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก
3.น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมากหรือมีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก
4.นอนไม่หลับหรือหลับมากไป
5.กระวนกระวาย อยู่ไม่สุขหรือเชื่องช้าลง
6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
7.รู้สึกตนเองไร้ค่า
8.สมาธิลดลง ใจลอยหรือลังเลใจไปหมด
9.คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย


การตรวจรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะเริ่มจากการสอบถามอาการ ผลกระทบที่เกิดขึ้นและระดับความรุนแรง ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน โรคประจำตัว ยาที่กินอยู่ รวมถึงประวัติครอบครัว โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะประเมินร่วมกับบุคลิกภาพที่สังเกตได้ ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อนำผลมาประเมินว่าผู้ป่วยควรได้รับการรักษาในแนวทางใด เช่น การรักษาด้วยยา การใช้จิตบำบัด



ขอบคุณข้อมูลจาก : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล