เขียนเมื่อ : วันพฤหัสบดี ที่ 29 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2561 | อ่านแล้ว : 3,333 ครั้ง

สัญญาณเตือนโรคไต อาการแบบไหนน่าสงสัย ดูแลตัวเองอย่างไร?


อาการผิดปกติ เสี่ยงเป็นโรคไต โดยโรคไตเรื้อรังเป็นภัยเงียบ ช่วงแรกจะไม่มีอาการแสดงให้เห็นและยังสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์อีกทีเมื่อมีอาการผิดปกติมากแล้ว ซึ่งมักจะพบอาการดังต่อไปนี้ 1.บวมตามตัว โดยเฉพาะบริเวณขาหรือเท้าและหนังตา 2.ปัสสาวะผิดปกติ ยิ่งฟองเยอะรวมไปถึงสีของปัสสาวะผิดปกติ มีสีแดงจาง 3.อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน

ระยะของโรคไต แบ่งออกเป็น 5 ระยะ สามารถทราบระยะได้จากการตรวจเลือดและดูค่าของไตที่เรียกว่า Creatinine มาวิเคราะห์ตามสูตร โดยคำนวนอายุ เพศ น้ำหนักและคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์
ระยะที่ 1 หากคำนวณแล้วอยู่ที่ระหว่าง 90%
ระยะที่ 2 หากคำนวณแล้วอยู่ที่ระหว่าง 60 – 90%
ระยะที่ 3 หากคำนวณแล้วอยู่ที่ระหว่าง 30 – 60%
ระยะที่ 4 หากคำนวณแล้วอยู่ที่ระหว่าง 15 – 30%
ระยะที่ 5 ค่าไตทำงานต่ำกว่า 15% ถือว่าเป็นโรคไตเรื้อรังหรือไตวายระยะสุดท้าย

การดูแลตนเองให้ห่างไกลโรคไตหรือผู้ที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว แต่ต้องการการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

1.ให้รับประทานผลไม้ หรืออาหารที่มีกากใยสูงเพื่อแก้ปัญหาท้องผูก ขับถ่ายให้ได้ทุกวันให้ตรงเวลาและถ่ายคล่อง ไตท่านจะดีขึ้นชัดเจน อย่าได้กังวลเรื่องผลไม้ที่เป็นข้อห้ามหรือผักที่เป็นข้อห้าม ขอเพียงท่านถ่ายได้ทุกวันจะไม่มีปัญหาเรื่องโปแตสเซี่ยมสูง แต่ต้องถ่ายได้หมดอย่าให้เกิดการตกค้างของเสียในลำไส้ ซึ่งอันตรายอย่างยิ่งต่อไต

2.ให้ดื่มน้ำมากๆ ในกรณีที่ยังไม่ฟอกไตหรือกรณีที่หมอยังไม่จำกัดปริมาณน้ำ ถ้าท่านดื่มชาพระจันทร์ยิ้มให้ดื่มชาพระจันทร์ยิ้มหลังจากตื่นนอนตอนเช้า 1-2 แก้ว แล้วดื่มสลับกับน้ำเปล่าตอนท้องว่างตลอดทั้งวัน (2 ซองแช่ ต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้ามีกระติกสูญญากาศเก็บความร้อน 10 ชม. ความจุ 1 ลิตร จะทำให้สะดวกในการดื่มทั้งวัน)

3.ท่านต้องไม่กลั้นปัสสาวะเป็นอันขาด รวมทั้งต้องดื่มชาพระจันทร์ยิ้ม 1 ลิตร น้ำเปล่า 1 ลิตร (สำหรับน้ำเปล่าให้ดื่มตอนทานยาหรือทานข้าว)

4.สำหรับท่านที่เป็นโรคไตแล้ว ขอให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้ร่างกายพร้อมฟื้นฟูเพียงพอต่อวัน แต่จะต้องงดอาหารที่มีรสเค็มและอาหารรสจัดหรือของหมักดอง รวมทั้งอาหารที่มีไขมันหรือโซเดียมสูง ขนมที่มีส่วนผสมของผงฟู เช่น เค้ก ขนมเบื้อง ขนมปัง

5.ออกกำลังกายให้เหมาะกับวัยและสภาพร่างกาย ให้เหงื่อซึมออก ไม่หักโหมจนเกินไป เพื่อให้ร่างกายได้รับการกระตุ้นร่างกายจะตอบสนองและฟื้นตัวโดยเร็ว



ขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์วีรศักดิ์ แพร่ชินวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์โรคไต โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล