เขียนเมื่อ : วันพุธ ที่ 21 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 1,358 ครั้ง

กะหล่ำปลี


กะกล่ำปลี แต่เดิมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถวเมดิเตอเรเนีย ต่อมาแพร่กระจายไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยปลูกได้ดีทางภาคเหนือและอีสาน กะหล่ำปลีที่พบเห็นตามท้องตลาดบ้านเรามีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือกะหล่ำปลีธรรมดา กะหล่ำปลีแดง (ใบเป็นสีแดงทับทิมจนออกเป็นสีม่วง) กะหล่ำปลีใบย่น (ผิวใบหยิกย่น) เป็นผักตระกูลมัสตาร์ด ซึ่งพบว่าสารเข้มข้นอย่าง สารซัลโพราเฟนในกะหล่ำปลี สามารถป้องกันอนุมูลอิสระที่เข้าไปทำลายสารเอนไซม์และทำลาย DNA อันเป็นสาเหตุโรคมะเร็ง พืชวงศ์นี้รวมทั้งบล็อกโคลี คะน้า กะหล่ำดอกและกะหล่ำต่างๆ จะมีวิตามินซีสูง มีธาตุโพแทสเซียม กำมะถัน และเส้นใยมาก ในโภชนาการกะหล่ำปลีจะมากด้วยคุณค่าทางโภชนาสารอาหารจำพวกวิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสาร Gefarnate ในกะหล่ำปลีสดๆ (ชนิดะรรมดา สีขาว สีม่วงใช้ไม่ได้) ซึ่งมีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะอาหาร คือ ช่วยกระตุ้นเซลล์เยื่อบุกระเพาะและลำไส้ให้สร้างน้ำคัดหลั่งคลุมทางเดินผิวอาหาร ปกป้องจากแผลในกระเพาะ
นอกจากนี้ยังได้ค้นพบสารสกัดอีกกลุ่มหนึ่งจากกะหล่ำปลีทั่วไปคือ Dithiolthiones พบว่า เป็นสารต้านมะเร็งที่ทรงอานุภาพ และเมื่อผ่านการทดลองหลายครั้งพบว่า สามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในลำไส้เป็นอย่างดี กะหล่ำปลีมีเส้นใยอาหารมากจึงแก่ผู้ที่ต้องการลดความอ้วน หรือโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร ช่วยป้องกันโรคหัวใจ หรือเป็นลมอยู่บ่อยๆ ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือด

อย่างไรก็ดี...การรับประทานกะหล่ำปลีบ่อยๆ ครั้งละจำนวนมากก็ไม่มีผลต่อสุขภาพเช่นกัน กล่าวคือ จะทำให้เกิดคอหอยพอก เพราะมีสารไปกั้นการดูดซึม “ไอโอดีน” ที่ต่อมไทรอยด์ ไม่ควรบริโภคมากเพราะไปลดระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือด จึงไม่ควรกินติดต่อกันนาน ส่วนกะหล่ำปลีสีแดงออกม่วง ไม่ควรรับประทานสดๆ ติดต่อกันเพราะมีธาตุเหล็กสูงกว่า

(ที่มา : ผักผลไม้ 80 ชนิดต้านมะเร็ง : 103-104)