เขียนเมื่อ : วันอังคาร ที่ 22 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 | อ่านแล้ว : 1,102 ครั้ง

ความหมายของ สีในอาหาร กับคุณประโยชน์ของร่างกายที่ต่างกัน


  สีในอาหาร ให้อะไรมากกว่าที่เราคิด สามารถพบได้ในพืชหลากหลายชนิด ช่วยป้องกัน และชะลอการเสื่อมของเซลล์ภายในร่างกาย

  พืชผักผลไม้หลากสี นอกจากจะสร้างสีสันบนจานอาหาร ยังเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่สำคัญเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระด้วย ซึ่งพืชผักผลไม้สามารถแบ่งออกเป็น 5 สี แต่ละสีก็มีสารอาหารและคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไป จึงควรกินให้หลากหลายและครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่าง ๆ มากมาย เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ความดันโลหิต ช่วยลดและชะลอให้เซลล์เสื่อมช้าลง ลดไขมันในเลือด เป็นต้น อีกทั้งทำให้ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณสดใส

พืชผักผลไม้ 5 สีกับประโยชน์ที่แตกต่าง

พืชสีเหลืองและส้ม

  ในพืชสีเหลืองและส้ม จะมี สารฟลาโวนอยด์ แคโรทีนอยด์ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน พบได้ใน แครอต ฟักทอง มะม่วงสุก สับปะรด ข้าวโพด มะละกอ เป็นต้น

พืชสีเขียว

  ในพืชสีเขียว จะมี ลูทีน คลอโรฟิล ช่วยในการขับถ่าย การมองเห็น และเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน ต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันเซลล์ถูกทำลาย พบได้ใน ผักใบเขียวทั่วไป เช่น ผักโขม บรอกโคลี ผักบุ้ง ผักคะน้า กะหล่ำปลี ใบชะพลู เป็นต้น

พืชสีแดง

  ในพืชสีแดง จะมี ไลโคปีน แอนโทไซยานิน ในปริมาณสูง ชะลอการเสื่อมของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง ป้องกันโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด พบได้ใน มะเขือเทศ เชอร์รี่ แตงโม สตรอว์เบอร์รี บีทรูท เป็นต้น

พืชสีขาว-สีน้ำตาล

  ในพืชสีแดง จะมี ไลโคปีน แอนโทไซยานิน ในปริมาณสูง ชะลอการเสื่อมของเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง ป้องกันโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งปอด ยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด พบได้ใน มะเขือเทศ เชอร์รี่ แตงโม สตรอว์เบอร์รี บีทรูท เป็นต้น

พืชสีขาว-สีน้ำตาล

  ในพืชสีขาว-สีน้ำตาล จะมี อัลลิซิน แร่ธาตุซีลีเนียม มีส่วนช่วยลดไขมันในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด และยังมีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ พบได้ใน กล้วยหัวหอม กระเทียม หัวไชเท้า เห็ด เป็นต้น

พืชสีม่วงหรือสีน้ำเงิน

  ในพืชสีม่วงหรือสีน้ำเงิน จะมี แอนโทไซยานิน ฟีโนลิค ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และเส้นเลือดอุดตันในสมอง ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหาร ป้องกันการเกิดโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ พบได้ใน พืชตระกูลเบอร์รี มะเขือม่วง กะหล่ำปลีสีม่วง ดอกอัญชัน หอมแดง ลูกหว้า เป็นต้น



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : สสส. และ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล