เขียนเมื่อ : วันเสาร์ ที่ 8 เดือน กันยายน พ.ศ.2561 | อ่านแล้ว : 10,101 ครั้ง

ฉี่หนู อันตรายแค่ไหนถามใจดู


ช่วงสถานการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมขังแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเขตเมืองหรือชนบท ต่างก็อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งสิ้น การป้องกันรักษาสุขภาพและรู้จักวิธีการสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน ซึ่งมากับช่วงเวลาที่มีน้ำขัง หรือเกิดน้ำท่วมในประเทศไทยและพบมากในกลุ่มชาวไร่ ชาวนา ทำฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย นอกจากนี้ยังพบในกลุ่มพนักงานทำความสะอาดท่อประปา คนที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ รวมถึงสัตวแพทย์

อาการของโรคจะแตกกันออกไป ระยะฟักตัวของโรคอาจจะเร็วภายใน 2 วัน หรือนานถึง 26 วัน หรือจะอยู่ในช่วงสัปดาห์ 5-14 วัน ผู้ที่ติดเชื้อหรือได้รับเชื้ออาจจะไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรง เริ่มด้วยมีไข้เฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศรีษะ ตาแดง คลื่นไส้และปวดท้อง ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจมีอาการมีจุดเลือดออกตามเพดานปาก หรือผิวหนังได้ ส่วนการปวดศรีษะของผู้ที่เป็นโรคฉี่หนูนั้นจะมีอาการรุนแรงเฉียบพลัน ปวดเบ้าตาและกลัวแสงร่วมด้วย การปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมักจะรุนแรงโดยเฉพาะที่หลัง ต้นขาและน่องได้

ดังนั้นหากรู้วิธีการสังเกตอาการแล้วสิ่งสำคัญที่สุด คือ การป้องตัวเองให้ห่างไกลจากโรคฉี่หนู ซึ่งการป้องกันมีดังนี้
1.กำจัดหนูพร้อมๆ กัน
2.หากจำเป็นต้องอยู่บริเวณน้ำขัง หรือพื้นที่สุ่มเสี่ยง ควรสวมรองเท้าบู๊ท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้าปิดมิดชิด
3.หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค
4.หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำที่อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่
5.หลีกเลี่ยงไม่ไปสัมผัสปัสสาวะ โค กระบือ หนู สุกรและแหล่งน้ำที่สงสัยว่าจะปนเปื้อนเชื้อ หลีกเลี่ยงอาหารค้างคืนโดยไม่มีภาชนะปกปิด
6.หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
7.รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็ว เมื่อแช่หรือย่ำลงไปในแหล่งน้ำสงสัยอาจปนเปื้อน
8.กินอาหารสุกใหม่ อาหารที่เหลือใส่ภาชนะปิดมิดชิด ผักผลไม้ ควรล้างให้สะอาดก่อนนำมาทำอาหาร

เน้นย้ำว่า “ฉี่หนู” ระบาดมากในฤดูฝน ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงตุลาคมของทุกปี มีโอกาสที่น้ำจะท่วมตามที่ต่างๆ ได้มากกว่าเดือนอื่น ดังนั้นการป้องกันโรคทุกชนิดต้องมีพื้นฐานสุขภาพที่แข็งแรง ซึ่งทีมงานชาพระจันทร์ยิ้มได้ผลักดันให้เกิดการออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์มาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนมีพื้นฐานสุขภาวะที่ดีในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขห่างไกลจากโรคต่างๆ



ขอบคุณข้อมูลจาก : หนังสือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน