เขียนเมื่อ : วันพุธ ที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 1,540 ครั้ง

โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ


โรคหัวใจเป็นโรคที่อันตรายร้ายแรงถึงชีวิต หากไม่ได้รับการป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี ความหมายและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคหัวใจ(โรคหลอดเลือดหัวใจ)
โรคหัวใจ หมายถึง ภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ อาการต่าง ๆ ได้แก่
1. ภาวะหลอดเลือดแข็ง หรือโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Atherosclerotic) เป็นโรคหัวใจที่ส่งผลกระทบต่อหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจ
2. โรคลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease) มีผลกระทบต่อการทำงานของลิ้นหัวใจที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเข้าออกของเลือดที่หัวใจ
3. โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Cardiomyopathy) มีผลกระทบต่อการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
4. หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) เป็นผลกระทบต่อการนำไฟฟ้าในหัวใจ หัวใจติดเชื้อ เป็นความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

โรคหลอดเลือดหัวใจคืออะไร
หัวใจเป็นเหมือนกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งในร่างกาย ที่ต้องการเลือดที่มีออกซิเจนในการหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ให้สามารถสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย รวมถึงสูบฉีดเลือดให้หัวใจเองด้วย ซึ่งหลอดเลือดแดงเหล่านี้จะแยกจาก Aorta (หลอดเลือดใหญ่ที่นำเลือดดีออกจากหัวใจ) ออกมาปกคลุมรอบหัวใจ
เมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบจะทำให้เลือดส่งไปยังหัวใจได้ยาก โดยเฉพาะตอนที่ออกกำลังกาย ซึ่งอาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อหัวใจเหมือนกันที่ปวดกล้ามเนื้อบริเวณอื่นของร่างกาย และหากหลอดเลือดยังคงตีบอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องลดการทำกิจกรรมต่าง ๆ ลงเพื่อลดความเครียดของกล้ามเนื้อหัวใจที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าว โดยอาการที่พบได้ทั่วไปก็คือ อาการเจ็บหน้าอก หรือแน่นหน้าอกและหายใจถี่ อาการเหล่านี้เรียกกว่า Angina หากหลอดเลือดหัวใจเกิดการอุดตันโดยสมบูรณ์ จะทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบางส่วนของกล้ามเนื้อหัวใจได้และทำให้กล้ามเนื้อส่วนนั้นตาย ซึ่งจะเกิดเป็นอาการที่เรียกว่าหัวใจวาย หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction)

อะไรคือสัญญาณเตือนและอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นคืออาการเจ็บหน้าอก (Angina) หรือการเจ็บที่หัวใจ โดยจะรู้สึกหนักบริเวณส่วนกลางของหน้าอก และแผ่ขยายออกไปยังแขนหรือกราม (มักจะเกิดขึ้นที่ฝั่งซ้าย) นอกจากนี้ยังอาจมีอาการหายใจหอบถี่ ซึ่งอาการจะถูกกระตุ้นเมื่อมีการทำกิจกรรมต่าง ๆ และเบาลงเมื่อได้พัก บางคนอาจมีอาการอาหารไม่ย่อยและคลื่นไส้ ร่วมกับอาการปวดหน้าท้องส่วนบน ไหล่และหลังด้วยโดยทั่วแล้วอาการเจ็บจากโรคหัวใจจะมีอาการที่เหมือนกัน แต่หากศึกษาให้ลึกมากขึ้นจะพบว่าแต่ละกลุ่มคนจะมีอาการที่แตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานและหญิงสูงอายุอยากมีอาการเจ็บที่ต่างออกไปเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบและอาจมีอาการอ่อนล้าหรือเกิดความเปลี่ยนแปลงไปเมื่อทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น การเดิน การขึ้นบันได หรือว่าทำงานบ้านและอาจรู้สึกไม่สบายตัว
บ่อยครั้งที่สัญญาณและอาการที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกจะเป็นอาการหัวใจวาย ซึ่งอาจนำไปสู่อาการแน่นหน้าอก หายใจถี่ เหงื่อออกและอาจหัวใจตายอย่างกะทันหัน

โรคหลอดเลือดหัวใจสามารถป้องกันได้หรือไม่
การที่หลอดเลือดจะเกิดการอุดตันจะต้องใช้เวลาถึง 10 – 15 ปี โดย American Heart Association และ American College of Cardiology ได้พัฒนาแนวทางเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพสามารถให้คำแนะนำและรักษาผู้ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้ ซึ่งจะให้น้ำหนักกับการลดน้ำหนัก, การรับประทานอาหาร, การออกกำลังกายและการใช้ยาลดคอเลสเตอรอลที่เรียกว่า Statins
ในอดีตเป้าหมายของการใช้ยา Statin คือ การลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งถูกกำหนดไว้ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง หรือผู้ที่มีอาการหัวใจวาย แต่ปัจจุบันได้มีการแนะนำให้ผู้ป่วยหลายคนใช้ Statin เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดลง 50% ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง และ 30 – 50% ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจรองลงมา ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการหัวใจวาย, สมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack ; TIA) หรือโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ยา Statins อาจเหมาะสำหรับผู้ที่มีคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูง เช่น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเกินกว่า 7.5%การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด จะต้องมีการควบคุมความดันโลหิต, ควบคุมคอเลสเตอรอล, เลิกสูบบุหรี่และโรคเบาหวานไปตลอดชีวิต