เขียนเมื่อ : วันพุธ ที่ 14 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2563 | อ่านแล้ว : 1,013 ครั้ง

วิธีลดเสี่ยงภาวะ “หัวใจล้มเหลว” ในยุค New Normal


ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับแนวทางยุคความปกติใหม่ (New Normal) เพื่อให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยและมีสุขภาพที่ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด

ศาสตราจารย์ นายแพทย์รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาตร์โรคหัวใจ คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล ให้คำแนะนำว่า “สำหรับคนไข้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จำเป็นต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับแนวทางยุคความปกติใหม่ เพื่อให้ปลอดภัยจากการเจ็บป่วยและมีสุขภาพที่ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด เนื่องจากผู้ที่มีโรคประจําตัวเป็นโรคหัวใจจะมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงกว่าคนธรรมดาถึง 5 เท่า”

1. เลือกบริการแพทย์ผ่านช่องทางออนไลน์ (Telemedicine) เพื่อช่วยลดความแออัดและการสัมผัสกันของผู้มาใช้บริการที่สถานพยาบาล ติดตามสุขภาพได้อย่างต่อเนื่องและการรักษาระยะห่างทางสังคมที่กลายมาเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม

2. ผู้ป่วยภาวะเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถใช้ช่วงเวลาที่อยู่ในที่พักอาศัยในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการเดินออกกำลังกาย ยืนแกว่งแขวนอย่างน้อย 20 นาที สามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและความดันโลหิตได้

3. เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เสริมสร้างสุขภาพหัวใจให้แข็งแรงขึ้นได้ ยิ่งเวลานี้การสั่งอาหารพร้อมรับประทานผ่านบริการจัดส่งที่เป็นที่นิยมขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงยิ่งต้องเพิ่มความใส่ใจในการเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์

4. ใส่ใจความสะอาดถูกสุขลักษณะ เลี่ยงอาหารทอด มัน เค็ม ให้เน้นการรับประทานผัก ผลไม้ พืชตระกูลถั่ว ผักโขม มะเขือเทศ องุ่น ทับทิม แอปเปิ้ล

5. ควรจะทำกิจกรรมสื่อสารกับคนในครอบครัวให้มากขึ้น เพื่อเติมเต็มความต้องการในการเข้าสังคมในช่วงที่ต้องถอยห่างจากสังคมภายนอกระหว่างการระบาดของโรค



ขอบคุณข้อมูลจาก : www.sanook.com