เขียนเมื่อ : วันอังคาร ที่ 5 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2561 | อ่านแล้ว : 1,546 ครั้ง

5 สมุนไพรไทย ลดความดันโลหิตสูง


เดี๋ยวนี้คนไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน และวัยชรา มักประสบปัญหา ความดันโลหิตสูงกันเป็นจำนวนมาก เพราะวิถีชีวิตที่เร่งรีบขึ้น ทำให้หลายคนต้องรีบบริโภคอาหาร โดยไม่มีเวลา มาพิจารณาอาหารที่กินเข้าไป และเวลาที่มีจำกัด ทำให้ออกกำลังกายได้น้อยลงด้วย แต่วันนี้มีทางเลือกเป็นสมุนไพรไทย ที่ช่วยลดความดันโลหิตสูงมาฝากกัน สมุนไพรพื้นบ้านที่ว่า มีคุณสมบัติไม่แพ้ยาต่างชาติเลย

มีสมุนไพรอะไรบ้าง และจะนำมาใช้อย่างไรจึงจะได้ผลดีที่สุด

กระเทียม
วิธีการกิน ซอยกระเทียมสด ประมาณครึ่งช้อนชา กินพร้อมอาหารวันละ 2 – 3 ครั้ง หรือจะใช้วิธี เคี้ยวสดหลังมื้ออาหารก็ได้ แต่ไม่ควรกินตอนท้องว่าง เพราะกระเทียมมีฤทธิ์ร้อน อาจทำให้แสบกระเพาะได้

ขึ้นฉ่าย
วิธีการกิน ควรเลือกต้นสดที่สะอาด แข็งแรง วิธีแรกคือ นำมาตำ และคั้นเอาน้ำมาดื่ม อีกวิธีคือนำต้นสด 1 – 2 กำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาต้มกับน้ำจนเดือด จากนั้นกรองเอากากออก ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 – 2 ช้อนตะ วิธีสุดท้ายง่ายที่สุด คือกินเป็นผักสด ร่วมกับมื้ออาหาร

กระเจี๊ยบแดง
ตามตำรายาไทยระบุว่า นอกจากกระเจี้ยบแดง จะช่วยลดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังช่วยลดคอเลสเตอรอบ ลดไข้ และแก้อาการนิ่วได้อีกด้วย

วิธีการกิน ใช้กลีบแห้งต้มน้ำ หรือชงน้ำร้อนดื่มเป็นชากระเจี้ยบ

บัวบก
ตามตำรายาไทยทั่วไป นิยมใช้บัวบกบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แต่ในบางตำรา ก็นำมาใช้ลด ความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

วิธีการกิน นำต้นสด 1-2 กำมาต้มกับน้ำ ดื่มแทนน้ำชา หรือกินสดร่วมกับมื้ออาหาร

กาฝากมะม่วง
กาฝากมะม่วงเป็นไม้พุ่มปรสิตที่ขึ้นบนกิ่งไม้ใหญ่ โดยเฉพาะพบบ่อยบนต้นมะม่วง

วิธีการใช้

ตำรายาไทยให้นำมาตากแห้ง หรือตากแล้วคั่ว จากนั้นนำมาต้มน้ำดื่มต่างน้ำชา ขณะที่บางท้องถิ่นนำต้นกาฝากสดทั้งกิ่งและใบมาต้มน้ำดื่ม ก็ทำได้เช่นกัน

สมุนไพรไทยเหล่านี้ ส่วนใหญ่หาได้ง่ายจากในครัวของคุณเอง วิธีการก็ไม่ยุ่งยาก ทดลองนำไปใช้ดู อาการความดันโลหิตสูงที่หลายคนเป็นจะได้ทุเลาลง โดยไม่ต้องพึ่งยาหมอฝรั่งราคาแพงอีกต่อไป

นอกจากสมุนไพรไทยทั้ง 5 ชนิดนี้แล้ว ขอแนะนำชาพระจันทร์ยิ้ม สมุนไพรไทยที่ถูกนำมาทำให้อยู่ในรูปของชาชงดื่ม สรรพคุณช่วยในเรื่องของความดันโลหิต ปรับสมดุลในร่างกาย ทั้งยังช่วยในเรื่องของโรคไต เบาหวาน คอเลสเตอรอล ดื่มง่าย มีผลงานวิจัยรับรองว่าปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง



ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก “5 สมุนไพรลดความดันโลหิตสูง” ข้อมูลจากคอลัมน์เกร็ดสุขภาพ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 170