เขียนเมื่อ : วันศุกร์ ที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 900 ครั้ง

อ้วนๆๆ คำนวณยังไง


อ้วนๆๆ คำนวณยังไง

คำนวณที่ “ดัชนีมวลกาย” ซึ่งก็คือ ค่าซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวกับส่วนสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นตัววินิจฉัยว่า ใครน้ำหนักเกิน หรือใครเป็นโรคอ้วน โดยค่า ดัชนีมวลกายของแต่ละคน จะมีค่าเท่ากับ น้ำหนักของคนๆ นั้น หารด้วยความสูงยกกำลังสอง เช่น น้ำหนัก 50 กก. ความสูง 1.60 ม. (1.60 x 1.60 ม. = 2.56 (50/2.56) ค่าดัชนีมวลกายคือ 19.53

องค์การอนามัยโลก ให้นิยาม ภาวะน้ำหนักตัวเกิน และโรคอ้วน (Overweight and Obesity) ไว้ว่า ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆ ของร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยเมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index หรือ เรียกย่อว่า BMI/บีเอ็มไอ) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่า “น้ำหนักตัวเกิน” แต่ถ้ามีค่าดัชนีมวลกาย ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่า “เป็นโรคอ้วน” โรคอ้วนออกเป็น 3 ระดับ เพื่อบอกความรุนแรงของภาวะ หรือ ของโรค ว่า ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก โดยระดับความรุนแรงมาก คือ ค่าดัชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไป (มาตรฐานองค์การอนามัยโลก) หรือ ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป (สำหรับเอเชีย)


ที่มา : นพ.จีรวัส ศิลาสุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องกล้องในระบบทางเดินอาหาร รพ.พญาไท 2