เขียนเมื่อ : วันจันทร์ ที่ 11 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 1,036 ครั้ง

กินดี โรคเกาต์ไม่กำเริบ


"อย่ากินไก่เยอะ เดี๋ยวเป็นเกาต์" คงได้ยินกันบ่อยสำหรับความห่วงใยของคนรอบข้าง จริงอยู่ที่เนื้อไก่ทำให้อาการเกาต์กำเริบมากขึ้น เพราะเนื้อไก่มีสารพิวรีนอยู่มาก (สารในอาหารซึ่งจะสลายเป็นกรดยูริค) ซึ่งเราอาจเลือกทานเฉพาะเนื้อไก่ส่วนที่เป็นเนื้อแทนในส่วนที่เป็นข้อ และลดความถี่ในการทานหน่อยก็ปลอดภัยแล้ว เรามาดูกันมั้ยว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่ควรงด หรือแค่ลดความถี่ ลดปริมาณลงก็พอ

1.ลดอาหารที่มีปริมาณพิวรีน 75 มิลลิกรัม ในอาหาร 100 กรัม โดยแนะนำให้เลือกรับประทานได้ 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เนื้อสัตว์รับประทานได้ 60-90 กรัมต่อครั้ง ผักในกลุ่มด้านล่างนี้รับประทาน ½ ถ้วยตวงต่อวัน ได้แก่
เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปู ปลาแซลมอน กุ้งมังกร หอยนางรม แฮม ผัก เช่น ดอกกะหล่ำปลี เห็ด ผักโขม ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวแป้ง เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังหวานประเภทโรล บิสกิต วีตเจิร์ม (จมูกข้าวสาลี)

2.งดอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมาก คือ 150-1,000 มิลลิกรัมในอาหาร 100 กรัม ได้แก่
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด อาหารทะเลบางชนิด (ปลาไส้ตัน ปลาอินทรีย์ ปลาซาร์ดีน กุ้ง หอยเซลล์ กะปิ ไข่ปลา) น้ำสกัดหรือตุ๋นเนื้อ น้ำเกรวี น้ำปลา ซุป ซุปก้อน ยีสต์ ธัญพืช (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วเหลือง) ผักบางชนิด (กระกิน ชะอม)

3.หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และน้ำตาล
การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์ เนื่องจากแอลกอฮอล์ช่วยเร่งปฏิกิริยาการสร้างกรดยูริค โดยการเร่งกระบวนการการสลายตัวของสารอะดีโนซีนไตรฟอสเฟตในเซลล์ ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมในการดื่มแอลกอฮอล์ ไวน์หรือเบียร์เป็นประจำ จึงมีโอกาสเป็นโรคเก๊าท์ได้บ่อยกว่าคนที่ไม่มีความประพฤติเช่นนี้ แอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายสร้างกรดยูริคขึ้นมามากกว่าปกติ