เขียนเมื่อ : วันพฤหัสบดี ที่ 27 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 951 ครั้ง

อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง ที่ไม่ได้มีแค่ “หูตึง”


อันตรายจากการใช้หูฟัง
- หูตึงเร็วขึ้น แทนที่จะรอให้แก่ตัวลงแล้วค่อยหูตึง คนไทยเริ่มหูตึง หรือเริ่มฟังไม่ค่อยได้ยินในอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ
- ทำให้เราไม่ระมัดระวังตัวเอง เพราะเราไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง จึงเป็นช่องโหว่ที่โจรอาจจะเข้ามาขโมย หรือทำร้าย หรือหากใส่หูฟังขณะวิ่ง เดินริมถนน อาจมีเหตุอันตราย เช่น รถพุ่งเข้ามาเฉียดชน โดยที่เราอาจจะหนีไม่ทันเพราะไม่ได้ยิน

ใช้หูฟังแบบไหน เสี่ยงหูตึงที่สุด
ปัจจุบันมีหูฟังหลายประเภทให้เลือกใช้ ประเภท in-ear หรือแบบที่มีจุกเข้าไปอุดในรูหู เป็นที่นิยมที่สุด เพราะทำให้ได้ยินเสียงชัดเจน ไม่มีเสียงรบกวน แต่การใช้หูฟังประเภทนี้ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะหูตึงได้ง่ายกว่าหูฟังประเภทอื่นๆ รวมไปถึงอันตรายภายนอกจากการที่ไม่ได้ยินเสียงรอบข้างอีกด้วย

ระดับความดังของเสียงต่างๆ (ระดับปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล)
- การจราจรบนนถนน = ไม่เกิน 85 เดซิเบล
- เลื่อยไฟฟ้า = 90 เดซิเบล
- เจ็ทสกี = 100 เดซิเบล
- คอนเสิร์ต หรือสถานที่เที่ยวกลางคืน = 105-120 เดซิเบล
- เปิดวิทยุดังๆ ในรถยนต์ = อาจมากถึง 120 เดซิเบลได้
- เสียงกระสุนปืน เมื่อยืนห่างจากจุดลั่นไกราว 2-3 ฟุต = 140 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้เกิดอาการปวดหูในบางคนได้
ดังนั้น การใช้หูฟังแต่พอดี เลือกเปิดเสียงไม่ดังเกิน 85 เดซิเบล หรือเปิดเสียงดังไม่เกิน 70% ของระดับเสียงในมือถือ หรือเครื่องเล่นเพลงที่ใช้ประจำ ทดสอบโดยเปิดฟังแล้วพอจะได้ยินเสียงรอบข้างบ้าง เลือกใช้หูฟังประเภท ear bud หรือครอบหูแบบที่ไม่ครอบทั้งใบหู หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่เสียงดังนานๆ หรือหากจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่เสียงดัง ควรใช้ที่อุดหู เพื่อถนอมสุขภาพหู รวมไปถึงถนอมสุขภาพของตัวเองไปด้วย