เขียนเมื่อ : วันเสาร์ ที่ 25 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 1,436 ครั้ง

ถ่ายเป็นเลือด แบบไหนเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่-ริดสีดวงทวาร


ปวดอุจจาระธรรมดาๆ ก็เข้าห้องน้ำเพื่อจะถ่ายตามปกติ แต่พออุจจาระออกมามีแต่เลือดสดๆ ออกมาเป็นถ้วยๆ เลยผ่านไปอีกครึ่งชั่วโมง ก็ถ่ายอีกจนไม่มีแรง อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าพบเนื้องอกที่ลำไส้ส่วนปลาย หรือเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่กับริดสีดวงทวาร มีอาการที่คล้ายกันอยู่ นั่นคือการถ่ายเป็นเลือด ดังนั้นวิธีสังเกตว่าเราเสี่ยงเป็นโรคไหนกันแน่ สามารถจำแนกได้เบื้องต้นดังนี้
- ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ จำนวนมาก แค่ครั้งเดียว
- ถ่ายออกมาเป็นเลือดสดๆ แบบกะปริบกะปรอย เลือดเป็นหยดๆ หรือเช็ดด้วยกระดาษชำระแล้วติดเลือดมาด้วย
- มีก้อนผลุบๆ โผล่ๆ ใกล้ขอบรูทวาร มีเลือดหยด
- ดื่มน้ำน้อย เป็นสาเหตุที่ทำให้ท้องผูก อุจจาระแข็ง ใช้แรงเบ่งมากขึ้นกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักทำงานหนักมากขึ้น
- ทานอาหารที่มีกากใยอาหารน้อย
- นั่งเบ่งอุจจาระนานๆ แม้ว่าจะท้องผูกหรือนั่งเฉยๆ ก็ตาม การนั่งอยู่ในท่าเหมือนเบ่งอุจจาระนานๆ ทำให้เกิดแรงดัน ความเครียดบริเวณกล้ามเนื้อหูรูดตรงทวารหนัก ทำให้เยื่อบุผิวด้านในเกิดแรงผลักลงมา เส้นเลือดบริเวณกล้ามเนื้อหูรูดจำนวนมากก็จะเริ่มกลายเป็นเหมือนเส้นเลือดขอด รวมกับเยื่อบุที่บานออก จนกลายเป็นตุ่มยื่นออกมาเป็นริดสีดวง

วิธีรักษาโรคริดสีดวงทวาร
หากมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยตนเองที่บ้าน โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ทานผักมากขึ้น ดื่มน้ำมากขึ้น นั่งแช่ก้นในน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อในบริเวณนั้น อาจควบคู่ไปกับการทานยาแก้ปวด และยาทาภายนอก แต่หากมีอาการรุนแรง อาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการใช้ยางรัด ฉีดยา จี้ หรือผ่าตัดเอาริดสีดวงทวารออก

วิธีรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
แพทย์อาจทำการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก แล้วต่อลำไส้ หากต่อลำไส้ไม่ได้ ต้องผ่าตัดให้อุจจาระทางหน้าท้องแบบถาวร สุดท้ายแล้ว การป้องกันโรคริดสีดวงทวาร และมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ใกล้เคียงกัน คือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น ทานอาหารที่มีกากใยอาหารมากขึ้น ดื่มน้ำให้มากขึ้น ไม่นั่งอยู่ในท่าเบ่งอุจจาระขณะถ่ายนานเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน และช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ และที่สำคัญ หากพบความผิดปกติของอุจจาระ หรือระหว่างถ่าย ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด