เขียนเมื่อ : วันศุกร์ ที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2560 | อ่านแล้ว : 672 ครั้ง

โรคติดต่อและอันตรายที่มากับภาวะน้ำท่วมและหลังน้ำท่วม


โรคระบบทางเดินหายใจ (ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ปอดบวม)
อาการสำคัญ ไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย และเบื่ออาหาร
การป้องกัน
ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้ง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำและสบู่

โรคฉี่หนู (หรือโรคเลปโตสไปโรซิส)
อาการสำคัญ มีไข้สูงฉับพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะบริเวณน่องและโคนขาหรือปวดหลัง อาจมีอาการตาแดง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะน้อย ซึม สับสน
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้อง

โรคน้ำกัดเท้า
อาการโรคน้ำกัดเท้า เท้าเปื่อยและเป็นหนอง คันตามซอกนิ้วเท้า ผิวหนังลอกเป็นขุย มีผื่นผุพอง ผิวหนังอักเสบบวมแดง
การป้องกัน
หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งอยู่เสมอโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลนต้อง

ไข้เลือดออก
อาการสำคัญ มีไข้สูงลอย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง จุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน
การป้องกัน
ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน นอนในมุ้ง ทายากันยุง กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง อุบัติเหตุและการถูกสัตว์ร้ายมีพิษกัดต่อย

อุบัติเหตุที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ ไฟดูด จมน้ำ เหยียบของมีคม อันตรายจากสัตว์มีพิษที่พบบ่อยในช่วงน้ำท่วม ได้แก่ งู ตะขาบ แมงป่อง ซึ่งหนีน้ำมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านเรือน
การป้องกัน
ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้า สับคัทเอาท์ตัดไฟฟ้าในบ้านก่อนที่น้ำจะท่วมถึง เก็บกวาดขยะ วัตถุแหลมคม ในบริเวณอาคารบ้านเรือน และตามทางเดินอย่างสม่ำเสมอ